ประวัติความเป็นมา :: โรงเรียนปริยัติสามัญวัดไพรสณฑ์ศักดาราม
หน้าหลัก
จัดซื้อจัดจ้าง ภาพกิจกรรม Avatar
โรงเรียนปริยัติสามัญวัดไพรสณฑ์ศักดาราม

  • ประวัติความเป็นมา
    ประวัติความเป็นมา
    เผยแพร่วันที่111 : 2 ต.ค. 2564 | โดย : Admin | เปิดอ่าน : 468

ประวัติวัดไพรสณฑ์ศักดาราม พระอารามหลวง
            วัดไพรสณฑ์ศักดาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ 91 ถนน-พิทักษ์ ซอยปริยัติธรรม ตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 12 ไร่ 3 งาน 35 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 221 อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับที่ดินของนางวรรณทอง ไชยสุวรรณ ทิศใต้ติดต่อกับซอยปริยัติธรรม ทิศตะวันออกติดต่อกับถนนพิทักษ์ และแม่น้ำแควป่าสัก ทิศตะวันตกติดต่อกับหมู่บ้านชาวหล่มสักและถนนวจีสัตยารักษ์ และมีที่สงฆ์ 1 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 93 ตารางวา ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 221 หน้า 21
            พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบและลาดเอียงไปทางทิศตะวันตก อาคารเสนาสนะต่างๆ มีพระอุโบสถหลังใหม่กว้าง 15 เมตร ยาว 21 เมตร สร้าง พ.ศ. 2504  พระวิหารกว้าง 4 เมตร ยาว 9 เมตร ศาลาการเปรียญ (ศาลากิมฮวย วัฒนศักดิ์) สร้าง พ.ศ.2523 กุฎีสงฆ์ จำนวน 20 หลัง นอกจากนี้มีอาคารเรียนพระปริยัติธรรม 2 หลัง ห้องสมุดแน่งน้อย หอสวดมนต์ อาคารที่ทำการเจ้าคณะจังหวัด สภาบริหารคณะสงฆ์จังหวัด ศาลาธรรมสังเวช และฌาปนสถานปูชนียวัตถุนอกจากพระพุทธรูป พระประธาน ซึ่งมีขนาดและปางต่างๆ แล้ว ยังมีอนุสาวรีย์ของอดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 1 และที่ 2
วัดไพรสณฑ์ ศักดาราม เดิมมีนามว่า "วัดป่า" สร้างขึ้นเป้นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2382 สถานที่สร้างวัดเป็นไร่ฝ้ายตาสี โดยมีพระสุริยวงศาชนสงครารามภักดีวิริยกรมพาหะ (คง) เจ้าเมืองหล่มสัก คนแรกเป็นผู้สร้างขึ้นเป็นวัดคู่เมือง เพื่อใช้เป็นที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาสมัยที่ยังเป็นจังหวัดหล่มสัก ต่อมาวัดป่าได้เปลี่ยนนามเป็น "วัดอรัญญวาสี" บางแห่งเขียนเป็น "วัดอรัญญวาศรี" ในสมัยของเจ้าอาวาสรูปที่ 2 พระครูหลักคำภู่ ครั้นถึงสมัยของเจ้าอาวาสรูปที่ 16 ได้เปลี่ยนเป็น "วัดป่าหล่มสัก" ประมาณ พ.ศ.2484 ต่อมาถึง พ.ศ. 2495 จึงได้เปลี่ยนนามอีกครั้ง หนึ่งเป็นครั้งสุดท้ายมีนามว่า "วัดไพรสณฑ์ศักดาราม" พ.ศ.2495 และใช้มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ วัดไพรสณฑ์ศักดาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2504 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ได้ผูกพัทธสีมาวันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2508 มีพระภิกษุอยู่จำพรรษาปีละประมาณ  40 รูป สามเณรกว่า 100 รูป เนื่องจากเป็นสำนักเรียนปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลีที่เจริญรุ่งเรือง มากวัดหนึ่ง ประกอบกับเป็นวัดที่มีเกียรติและความสำคัญคู่เมืองหล่มสักมาแต่เดิม จึงได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ นับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2522 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2522 เจ้าอาวาสมี 19 รูป คือ
                      รูปที่ 1 พระครูหลักคำบุญเพ็ง
                      รูปที่ 2 พระครูหลักคำภู่
                      รูปที่ 3 พระครูโคตร
                      รูปที่ 4 พระอาจารย์กวย
                      รูปที่ 5 พระสำเร็จคัมภีระ
                      รูปที่ 6 พระสำเร็จบุญเฮือง
                      รูปที่ 7 พระสำเร็จบุญมา
                      รูปที่ 8 พระอาจารย์วัง
                      รูปที่ 9 พระอาจารย์ม้า
                      รูปที่ 10 พระอธิการวัน
                      รูปที่ 11 หลวงพ่อนาเหนือ
                      รูปที่ 12 หลวงพ่อชาบรรทม (กวย)
                      รูปที่ 13 พระครูกา
                      รูปที่ 14 พระอาจารย์ถั่ว ฐิติปญฺโญ
                      รูปที่ 15 พระปลัดแดง
                      รูปที่ 16 เจ้าอธิการบัง ชวนปญฺโญ
                      รูปที่ 17 พระอธิการบุญ
                      รูปที่ 18 พระมหาไพบูลย์ ชินปญฺโญ ป.ธ.5
                      รูปที่ 19 พระวีรญาณมุนี (ไพฑูรย์ อคฺคธมฺโม ป.ธ.3 น.ธ.เอก)
                      รูปที่ 20 พระปริยัติพัชราภรณ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน (พ.ศ.2552)
ประวัติความเป็นมาของวัดไพรสณฑ์ศักดาราม พระอารามหลวง      
ประวัติโดยทั่วไป
วัด ไพรสณฑ์ศักดาราม พระอารามหลวง เดิมชื่อ วัดป่า ตำบลวัดป่า อำเภอวัดป่า จังหวัดหล่มสัก วัดป่าสร้างเมื่อราม พ.ศ. 2382 พระสุริยวงศาชนสงครามรามภักดีกรมพาหะ (คง) เจ้าเมืองหล่มสักคนแรกสร้างเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง เพื่อใช้เป็นสถานที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาวัดป่ามีประวัติเกี่ยวข้องทาง ประวัติศาสตร์ ซึ่งจำเป็นต้องเล่าถึงปะวัติความเป็นมาของบ้านเมืองพอสมควร เพื่อจะได้ทราบประวัติโดยแจ่มแจ้งชัดเจนพอสังเขปก่อน เมืองหล่มเก่าเดิมชื่อ เมืองล่มหรือ เมืองลุ่มหรือ เมืองหล่มซึ่งมีหลักฐานอ้างอิงปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า เมืองล่มนี้มิใช่เป็นเมืองที่ทางราชการตั้งขึ้น แต่เป็นเมืองที่เกิดขึ้นโดยประชาชนร่วมกันสร้าง เราจะเป็นได้ว่านิสัยของคนเมืองหล่มเก่าพร้อมเพรียงกันอย่างน่าชมเชย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าพวกราษฎรชาวศรีสัตนาคนหุต ได้มาพำนักอยู่ก่อนแล้วก่อสร้างเจดียสถานไว้สำหรับเพื่อนบ้าน เหตุที่พากันมาอยู่สร้างเมืองลุ่มนี้ ก็เพราะหนีภัยต่างๆ เมืองจำนวนคนเพิ่มขึ้นก็เกิดเป็นบ้านเมือง ในที่สุดเกิดมีผู้ปกครองแต่ไม่ได้เรียกว่าเจ้าเมือง ใช้คำเมืองเรียกว่า อุปฮาดตามภาษาพื้นเมืองที่ใช้กันเป็นชื่อตำแหน่งเจ้าเมืองของชาวศรีสัตนาคนหุต เมืองลุ่มนี้มาปรากฏมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ขึ้น เมื่อเกิดมีกบฏเจ้าอนุเวียงจันทน์ส่งเจ้าราชวงศ์คุมกองทัพกบฏส่วนหนึ่งมายึด เมืองลุ่ม อุปอาด เจ้าเมืองลุ่มมีกำลังน้อย จึงต้องยอมสวามิภักดิ์ต่อเจ้าราชวงศ์ เมื่อกองทัพพระยาอภัยภูธรกับพระยาพิชัยไอถึงเมืองลุ่ม นายคงชาวพื้นเมืองลุ่มได้อาสานำทัพพระยาอภัยภูธรกับพระยาพิชัยไปถึงเมือง หนองบัวลำภู ทัพไทยจับเจ้าเมืองหรืออุปฮาดเมืองลุ่มได้แล้วสำเร็จโทษ ตำแหน่งอุปฮาดจึงว่างลง ทางราชการพิจารณาความชอบของนายคง ผู้กล้าหาญและซื่อสัตย์ต่อความดีเห็นว่าควรบำเหน็จรางวัลด้วยตำแหน่งอุปฮาด และบรรดาศักดิ์ให้สูงขึ้น ดังนั้นนายคงจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ว่า พระยาสุริยวงศาชนสงครามรามภักดีวิริยกรมพาหะ
    พระสุริยวงศาหรือนายคงนี้  ขณะเดินทางจากกรุงเทพฯมายังเมืองลุ่มหรือหล่มได้ผ่านบ้านท่ากกโพธิ์  ซึ่งอยู่ใต้เมืองหล่มลงมาเห็นว่าดินแดนแห่งนี้อุดมสมบูรณ์   เป็นชัยภูมิอันเหมาะที่จะเป็นเมืองอะไรได้สักเมืองหนึ่ง  จึงมาตั้งสร้างเมืองขึ้นใหม่ที่บ้านท่ากกโพธิ์  ซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำแควป่าสัก  จึงให้ชื่อว่า หล่มสัก”   ราว  พ.ศ. ๒๓๔๐  ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมืองหล่มสักได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดในนามว่า จังหวัดหล่มสัก”  ส่วนอำเภอในเมืองให้ชื่อว่า  “อำเภอวัดป่าเจ้าเมืองหล่มสักคนแรก คือพระสุริยวงศาชนสงครามรามภักดีวิริยกรมพาหะ (คง)  เป็นคนเอาใจใส่ในหน้าที่น่าสรรเสริญกอร์ปทั้งเป็นผู้มีจิตใจฝักใฝ่เอา ภารธุระในทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี  จะเห็นได้สมัยที่มาสร้างเมืองขึ้นใหม่
    ราวพุทธศักราช  ๒๓๘๒  ได้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นวัดของทางราชการสำหรับใช้เป็นที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา  ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดป่าสร้างขึ้นฝั่งขวาริมแม่น้ำป่าสัก  พระสุริยวงศาฯ ได้สร้างกุฏิขึ้น    หลัง  ศาลา    หลัง  โบสถ์    หลัง     วิหาร  ๑ หลังหมายเหตุ จังหวัดหล่มสักได้ยุบเป็นอำเภอชั้นเอก  เมื่อ  พ.ศ.๒๔๗๕  สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองและเศรษฐกิจตกต่ำ
รายชื่อเจ้าอาวาส
             เจ้าอาวาส รูปที่    พระครูหลักคำบุญเพ็ง  ครั้นเมื่อพระยาพระยาสุริยวงศาฯ   สร้างวัดป่าเสร็จแล้วจึงไปนิมนต์พระครูหลักคำบุญเพ็ง  ชาติภูมิเดิมท่านเป็นชาวเวียงจันทน์  ซางได้มาพำนักอยู่ที่วัดป่าไชโยเมืองหล่มเก่า  ปัจจุบันเป็นวัดร้างอยู่เหนือวัดตาลขึ้นไป  อยู่ใต้บ้านหินกลิ้งลงมา  จึงขนานนามวัดที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า วัดป่า”  เพื่อให้สอดคล้องกับนามเดิมของวัดป่าเมืองหล่มเก่า  ที่ท่านพระครูหลักคำบุญเพ็งพำนักอยู่ก่อนนั้น  เจ้าเมืองได้นิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสและได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ด้วย  ในด้านการศึกษาได้เปิดสำนักสอนบาลีมูลกัจจายน์แบบโบราณ  มีศิษยุนศิษย์ต่างจังหวัดและในพื้นทีเข้ารับการศึกษาเป็นจำนวนมาก  ในด้านการก่อสร้างได้ปฏิสังขรณ์เสนาสนะจนเป็นที่พอเพียง  ท่านได้บริหารกิจการพระศาสนาอยู่มากพอสมควร แก่อายุขัย  แล้วมรณภาพอยู่ในวัดนี้  บรรดาศิษยานุศิษย์มีพระอาจารย์ภู่เป็นต้นพร้อมด้วยข้าราชการประชาชน  ได้ฌาปนกิจเสร็จแล้วได้สร้างอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิธาตุไว้เป็นอนุสรณ์  ซึงตั้งอยู่ทางทิศใต้ของโบสถ์เก่า  ปัจจุบันรื้อออกแล้วห่างจากถนนพิทักษ์ที่ผ่านหน้าวัดประมาณ  ๑๕  วา
             เจ้าอาวาส รูปที่ ๒  พระครูหลักคำ (ภู่)  ครั้นพระครูหลักคำบุญเพ็งผู้เป็นอาจารย์มรณภาพแล้ว  พระภู่ผู้เป็นศิษย์ชาติภูมิอยู่บ้านทรายขาว  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย  ซึ่งได้มาพำนักศึกษาอยู่ที่วัดนี้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ  จึงได้รับภาระเป็นเจ้าอาวาสต่อมา  ภายหลังได้รับสมณศักดิ์แบบโบราณพื้นเมืองเป็นที่พระครูหลักคำ (ภู่)  ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะเมืองหล่มสัก  และเป็นพระอุปัชฌาย์  ท่านรูปนี้ได้สร้างวิหารขึ้น    หลัง  ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของโบสถ์เก่าปัจจุบันนี้   พร้อมด้วยพระประธานก่อด้วยอิฐถือปูน    องค์  ลงลักปิดทองเป็นพระปางสุโขทัย  ส่วนการศึกษาได้ตั้งสำนักสอบบาลีมูลกัจจายน์แบบโบราณขึ้นในวัดนี้  โดยสืบต่อจากเจ้าอาวาสรูปที่ ๑  ซึ่งมีพระภิกษุสามเณรเข้ารับการศึกษาเป็นจำนวนมาก  ท่านได้บำเพ็ญสมณกิจบริหารพระศาสนาตามสมควรแก่อายุขัยก็มรณภาพอยู่ในวัดนี้  บรรดาศิษย์ข้าราชการประชาชนได้ร่วมกันทำฌาปนกิจศพ  และสร้างอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิธาตุไว้เป็นอนุสรณ์  ซางตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของโบสถ์เก่าปัจจุบันนี้  อยู่ทางทิศหรดีของอนุสาวรีย์พระครูหลักคำบุญเพ็ง ห่างกัน ประมาณ ๖ วา สมัยนี้วัดป่าได้เปลี่ยนชื่อเป็น  “วัดอรัญญวาสี
             เจ้าอาวาส รูปที่    พระครูโคตร  ซึ่งเป็นศิษย์ของพระครูหลักคำบุญเพ็งองค์แรก  เมื่อพระครูหลักคำ (ภู่)  มรณภาพแล้วก็ได้รับภารกิจเป็นเจ้าอาวาสบริหารกิจการพระศาสนาต่อมา  ได้บำเพ็ญสมณกิจอยู่ในพระพุทธศาสนา  ในด้านการศึกษาก็ได้เปิดสำนักสอนบาลีมูลกัจจายน์เท่าที่สามารถ  เป็นเจ้าอาวาสอยู่ประมาณ  ๒๐  พรรษา  แล้วลาสิกขาจากเพศบรรพชิตไปอยู่ฆราวาสวิสัย
    
             เจ้าอาวาส รูปที่  ๔ พระอาจารย์กวย  ชาติภูมิบ้านตำบลวัดป่า  อำเภอวัดป่า  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่  ๑๐  พรรษา  แล้วลาสิกขาไปรับราชการ
           เจ้าอาวาส รูปที่    พระสำเร็จคัมภีระ  ชาติภูมิอยู่จังหวัดอุบลราชธานี  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้ประมาณ  ๑๐  พรรษา  เมื่อได้บำเพ็ญสมณกิจสมควรแล้วได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสกลับสู่ภูมิลำเนา เดิม
              เจ้าอาวาส รูปที่ ๖  พระสำเร็จบุญเฮือง  ชาติภูมิชาวจังหวัดเลย  ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้และได้บำเพ็ญ
สมณกิจอยู่เป็นเวลาประมาณ    พรรษา  แล้วลาสิกขา
             เจ้าอาวาส รูปที่ ๗ พระสำเร็จบุญมา  ชาติภูมิบ้านวัดป่า  อำเภอวัดป่า  จังหวัดหล่มสัก   ได้รับภารกิจเป็นเจ้าอาวาส  ต่อมาประมาณ  ๑๐   พรรษา  แล้วลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพ  ฝ่ายฆราวาส
             เจ้าอาวาส รูปที่ ๘  พระอาจารย์วัง  ชาติภูมิบ้านนาทราย  อำเภอหล่มเก่า  จังหวัดเพชรบูรณ์  ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสต่อมาเป็นเวลาประมาณ  ๑๐  พรรษา  เมื่อได้บำเพ็ญสมณกิจตามสมควร
             เจ้าอาวาส รูปที่    พระอาจารย์ม้า  ชาติภูมิอยู่จังหวัดอุบลราชธานี  ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสเป็นเวลา  ๑๐  พรรษา  แล้วย้ายกลับไปลาสิกขาที่ภูมิลำเนาเดิม
             เจ้าอาวาส รูปที่  ๑๐ พระอภิการวัน  ชาติภูมิอยู่บ้านหน้าเรือนจำ  ตำบลวัดป่า  อำเภอวัดป่า  จังหวัดหล่มสัก  ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในวัดนี้ประมาณ    พรรษา  แล้วลาสิกขาไปรับราชการเป็นแพทย์ประจำตำบลวัดป่า
             เจ้าอาวาส รูปที่ ๑๑  หลวงพ่อนาเหนือ  ชาติภูมิบ้านศรีบุญเรือง  ตำบลวัดป่า  อำเภอวัดป่า  จังหวัดหล่มสัก  ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในวัดนี้ เป็นเวลานานเท่าไรสืบไม่ได้  ภายหลังปรากฏว่ามรณภาพอยู่ในวัดนี้  ญาติโยมพร้อมกันทำฌาปนกิจศพเสร็จแล้วไม่ปรากฏได้สร้างอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิ ธาตุไว้ในวัดนี้
             เจ้าอาวาส รูปที่  ๑๒  หลวงพ่อชาบรรทม (กวย)  เมื่อได้ลาออกจากราชการแล้วซึ่งก่อนได้เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้  รูปที่ ๔  ภายหลังกลับอุปสมบทอีก  ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่ในวัดนี้อีก  จะเป็นเวลานานเท่าไรไม่ปรากฏ  เมื่อชราลงมากแล้วได้ย้ายไปอยู่วัดศรีบุญเรือง  ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดป่า  ห่างกันประมาณ  ๑๐  เส้น  และได้มรณภาพอยู่ที่วัดศรีบุญเรืองนั้น
             เจ้าอาวาส รูปที่  ๑๓  พระครูกา (พระครูปทวน)  ชาติภูมิอยู่บ้านนาแซง (บ้านสุขแสน)  อำเภอวัดป่า  จังหวัดหล่มสัก  เคยไปศึกษาบาลีมูลกัจจายน์วัดภคนีนาถ  กรุงเทพมหานคร  ภายหลังได้รับนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้  ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้รั้งเจ้าคณะแขวงวัดป่าอยู่    ปีได้ก่อสร้างกุฏิขึ้น    หลัง  ศาลาการเปรียญ    หลัง  ทั้งได้สร้างกำแพงวัดด้านทิศตะวันออกด้วยในด้านการศึกษาได้เปิดสำนักสอนบาลี มูลกัจจายน์ขึ้นในสำนักนี้  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่  ๑๑  พรรษา  แล้วลาสิกขาออกไปอยู่หราวาส
             เจ้าอาวาส รูปที่ ๑๔  พระอาจารย์ถั่ว  ฐิติปญโญ  ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพระครูกา  ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสต่อมา  เจ้าอาวาสรูปนี้เสียจักษุ  การบริหารกิจการพระศาสนาจึงเป็นเพียงทรงตัวอยู่ตามสภาพ  การก่อสร้างได้สร้างกำแพงวัดด้านทิศเหนือที่พระครูกาสร้างค้างไว้ดำรง ตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่    พรรษา  แล้วลาสิกขา
             เจ้าอาวาส รูปที่ ๑๕  พระปลัดแดง  เป็นพระฐานานุกรมของพระครูสังวุตคณีสังฆวาทะ (เหง้า)  เจ้าคณะจังหวัดหล่มสัก  การก่อสร้างได้ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ    หลัง  และได้ก่อสร้างกำแพงวัดด้านทิศเหนือและทิศใต้ซึ่งพระครูกาได้ก่อสร้างค้าง ไว้  การศึกษาได้จัดตั้งสำนักเรียนนักธรรมบาลีขึ้นในวัดนี้  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่    พรรษา  แล้วลาสิกขาตั้งหลักฐานอยู่ทิศเหนือของวัดป่าซึ่งมีที่ดินติดต่อเขตของวัด นี้
             เจ้าอาวาส รูปที่  ๑๖  เจ้าอธิการหำบัง  ชวนปญโญ  ชาติภูมิบ้านสักหลง  ตำบลสักหลง  อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์  ได้ดำรงตำแหน่งเป็นองค์การสาธารณูปการอำเภอหล่มสัก  การก่อสร้างได้ปรับปรุงกุฏิเก่าและใหม่    หลัง  หอฉัน    หลัง  หอกลอง    หลัง  หอระฆัง    หลัง  การศึกษาได้จัดตั้งสำนักเรียนบาลีและนักธรรม  โดยนิมนต์พระมหาบุญช่วย  ป.ธ.๖  น.ธ.  เอก  วัดประยูรวงศาวาส  จังหวัดธนบุรี  มาเป็นครูสอน  พระมหาบุญช่วยทำการสอนอยู่    ปี  แล้วลาสิกขาไปรับราชการเป็นปลัดอำเภอมินบุรี  การศึกษาฝ่ายบาลีที่จัดตั้งขึ้นนั้นเลิกล้มไป  สมัยนี้วัดสิกขาไปราชการเป็นปลัดอำเภอมินบุรี  การศึกษาฝ่ายบาลีที่จัดตั้งขึ้นนั้นเลิกล้มไป  สมัยนี้วัดอรัญญวาสีได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า วัดป่าหล่มสัก”  เจ้าอธิการหำบังรูปนี้ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่  ๑๐  พรรษา  แล้วลาสิกขาไปรับราชการสังกัดกรมรถไฟ
             เจ้าอาวาส รูปที่  ๑๗  พระอธิการบุญ   ชาติภูมิบ้านสักงอย  ตำบลวัดป่า  อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์  เป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้    พรรษา  แล้วลาสิกขาไปประกอบอาชีพรับราชการกรมราชทัณฑ์  
             เจ้าอาวาส รูปที่  ๑๘  พระมหาไพบูลย์  ชินปุตฺโต   ป.ธ.๕   น.ธ.เอก     ชาติภูมิบ้านท่าม่วง  ตำบลท่าม่วง  อำเภอเสลภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด  ซึ่งได้ย้ายมาจากวัดหิรัญรูจี  จังหวัดธนบุรี
วันที่  ๑๑  พฤษภาคม  ๒๔๘๙  พระราชสุธี (ปุ่น  ป.ธ.๖)  เจ้าคณะตรวจการภาค    วัดพระเชตุพนฯ  จังหวัดพระนคร  ได้จัดส่งมาเป็นเจ้าสำนักเรียนวัดนี้  พร้อมด้วยพระมหาไพฑูรย์  อคฺคธมฺโม  ป.ธ. ๓  น.ธ.เอก  และสามเณรไพโรจน์  สุทธิประภา  น.ธ.เอก  เป็นผู้ติดตาม
วัดที่  ๑๔  มิถุนายน  ๒๔๘๙  ได้ประกอบพิธีเปิดสำนักเรียนการศึกษานักธรรมและบาลี  ขึ้น    วัดนี้  ฝ่ายคณะสงฆ์สามเณรทายกทายิกาเปิดการศึกษาในวัดนี้เป็นครั้งที่    รองจากพระมหาบุญช่วย  ป.ธ.๖  สมัยเจ้าอาวาสรูปที่ ๑๖  ซึ่งได้เคยเปิดมาแล้วครั้งหนึ่ง  และการศึกษาทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินมาด้วยดี  การก่อสร้างได้ริเริ่มสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่เพราะพระอุโบสถหลังเดิมที่มี อยู่แล้วนั้นทรุดโทรมมากไม่สะดวกแก่การทำสังฆกรรม  แต่ยังไม่ได้ทำอะไรเพราะเจ้าอาวาสรูปนี้อยู่เพียง    พรรษา  ก็ลาสิกขาไปรับราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
             เจ้าอาวาส รูปที่  ๑๙  พระมหาไพฑูรย์  อคฺคธมฺโม  ป.ธ.๓  น.ธ.เอก  ชาติภูมิบ้านท่าม่วง  ตำบลท่าม่วง  อำเภอเสลภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด  เป็นญาติข้างมารดาและเป็นศิษย์ของพระมหาไพบูลย์  เจ้าอาวาสรูปที่  ๑๘  ซึ่งส่งมาจากสำนักวัดหิรัญรูจี  จังหวัดธนบุรี  เมื่อวันที่  ๑๑  พฤษภาคม  ๒๔๘๙  โดยพระราชสุธี (ปุ่น  ป.ธ.๖)  เจ้าคณะตรวจการภาค    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  ซึงภายหลังได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก  ส่งมาเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม    สำนักเรียนนี้เช่นกัน  แต่มาในฐานะเป็นพระอนุจร  ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่  พระครูปริยัติธาดา  พระวีรญาณมุนี  พระราชพัชราภรณ์  และได้รับพระบัญญาแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์  รองเจ้าคณะภาค  ๔ พ.ศ.๒๕๐๓  ได้เปลี่ยนชื่อวัดป่าหล่มสัก  เป็นวัดไพรสณฑ์ศักดาราม  และ  พ.ศ.๒๕๒๓  ได้รับยกฐานะขึ้นเป็นพ



ข้อมูลพื้นฐาน

ตรวจสอบผลการเรียนออนไลน์ ข้อมูลการติดต่อ ภาพกิจกรรม วิสัยทัศน์และพันธกิจ ภารกิจและหน้าที่ แผนที่โรงเรียน ตราสัญลักษณ์ ประวัติความเป็นมา ข้อมูลทั่วไป ข่าวประชาสัมพันธ์ กระดานถาม-ตอบ หน้าหลัก

ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ ผลงานครู Video กิจกรรม ผลงานนักเรียน วารสารประชาสัมพันธ์
เข้าสู่ระบบสมาชิก







ระบบบริการออนไลน์

E-Book เอกสารที่เกี่ยวข้อง